วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

บันทึกการเรียน

  วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครูผู้สอน คุณครูจินตนา  สุขสำราญ

เวลาเรียน 08:30-12:20

เวลาที่เข้าเรียน  08:11


กิจกรรมที่ทำในวันนี้


  -อาจารย์กระตุ้นเรื่อง การทำบล็อก 
                         - และเรื่องการจัดวางบล็อกว่าอันไหนก่อนอันไหนหลัง
                                       -โดย อาจารย์ เปิดบล็อกของเพื่อนๆ ให้ดู และอธิบายเพิ่มเติมค่ะ 
         - แล้วอาจารย์ให้วาดสัตว์ที่มีขา  ดังรูปค่ะ





  
กิจกรรมนี้ได้สอดแทรกเรื่องใกล้ตัว  ให้เด็กได้นับจำนวนเท้า และให้วาดรองเท้าให้แก่สัตว์ที่เราวาด และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้อีกด้วยค่ะ



เพลงที่ได้วันนี้หลายเพลงเลยค่ะ ลองร้องตามนะคะ

เพลงพาเหรดตัวเลข
คำร้อง- ทำนอง  ดร. สุภาพร   เทพยสุวรรณ
             ดร. แพง  ชิณวงศ์
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน
1 2 3 4 5 6 7 8 9 แล้วก็ 10
ซ้ายขวาซ้าย  ซ้ายขวาซ้าย  ชูมือขึ้นข้างบน
หมุนมือลงข้างล่าง  ซ้ายขวาซ้าย  ซ้ายขวาซ้าย
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน (ซ้ำ 2 รอบ)


เพลง จัดแถว
                                             สองมือเราชูตรง               แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
                                             ต่อไปย้ายมาข้างหน้า                แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง ซ้ายขวา 
ยืนให้ตัวตรง              ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน      หันตัวไปทางนั้นแหละ

สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์

 สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ
 วันนี้เราเรียนสาระที่ 1 ก่อนค่ะ

             1. จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งของต่างๆ
             2. จำนวนนับ หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า..... เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีล่ะหนึ่งตามลำดับ
             3. ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
             4. ตัวเลข เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
             5. สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด  ในระบบฐานสิบมี  10 ตัว                            ดังนี้
                       - ตัวเลขฮินดูอารบิก  ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
                       - ตัวเลขไทย ได้แก่๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
            อ่านว่า  หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
            6.  จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือน้อยกว่า                           กันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
            7. การเรียงลำดับจากจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
           8. การบอกลบำดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
           9. ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่
           10. การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
           11. การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
                                             
                                              ผลงานของเพื่อนๆ ทุกกลุ่มค่ะ



กลุ่มของดิฉันค่ะ



แสดงความคิดเห็นกลุ่มเพื่อนค่ะ  โดยเลือกเอาแค่กลุ่มเดียว




เพื่อนนำเสนอได้ดีค่ะ  มีความคิดและไอเดียที่สร้างสรรค์  แต่ถ้าเป็นตัวเลขหรือจำนวนน้อยๆ
ไม่ต้องทำกราฟก็ได้ค่ะ  แต่ในภาพรวมทั้งหมดดีค่ะ


ประเมินตนเอง
วันนี้ดิฉันได้มีส่วนร่วมในการตอบมากกว่าทุกครั้ง และได้ไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งดิฉันมีความตั้งใจอย่างมากค่ะ

ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆ แต่งตัวเรียบร้อยทุกคนค่ะ  เวลาอาจารย์สอนก็จดบันทึกตามค่ะ

ประเมินอาจารย์  วันนี้อาจารย์มีเทคนิคการสอนมากมาย เช่น การยกตัวอย่างให้เราเข้าใจได้ง่าย และสื่อการเรียนการสอนก็เตรียมพร้อม ที่จะมาสอนพวกเรา

สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม  
- อาจารย์ให้ประเมินงานที่ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียนเลือกของเพื่อนมาใส่บล็อกตัวเองค่ะ
- ให้จับฉลากเลือกหัวข้อของสาระทางคณิตศาสตร์ แล้วทำเป็นกิจกรรมการสอนเด็กค่ะ

หมายเหตุ อาทิตย์หน้า หยุดวันพ่อให้ส่งงานในอาทิตย์ถัดไปค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้้งที่ 3

บันทึกการเรียน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครูผู้สอน คุณครูจินตนา  สุขสำราญ

เวลาเรียน 08:30-12:20

เวลาที่เข้าเรียน  08:01
                กิจกรรมที่ทำวันนี้

  • สมุดนิทานเล่มเล็ก
  • ร้องเพลง
  • นักศึกษามาถึงมหาวิทยาลัยตอนไหน
  • วาดรูป  1-9
  • ครูสอนขอบข่ายหลักสูตรทางคณิตศาสตร์
  • แต่งเพลง 
  • การแจกกระดาษแบบมีส่วนร่วม
  ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

                                                   สมุดนิทานเล่มเล็ก

                       

                                                 เพลง สวัสดีคุณครู

                            สวัสดีคุณครูที่รัก                        หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
                           ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ                หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย

                                                เพลง สวัสดียามเช้า

                                ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า           อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
                                กินอาหารของดีมีทั่ว                หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
                                สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ                ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
                                หลั่นล้า  หลั่นลา  หลั่นหล่า       หลั่นหล่า  หลั่น  ลันลา
                                                         หลั่นลา  หลั่นล้า

                                           เพลงที่อาจารย์ให้แต่งในห้องเรียนค่

 เพลง นับเลขกันเถอะ
มา มา พวกเรา         เรามานับเลขกันเถอะ
นับ 1 นับ 2 นับ 3         แล้วนับตามมา 4 5 6 7 
รอก่อน  รอก่อน 8 9 10    พร้อมกันแล้วนับไปด้วยกัน

                                               
                                     นักศึกษามาถึงมหาวิทยาลัยตอนไหนและวาดรูป  1-9



                              ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

1.การนับ  เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับตัวเลขอันแรกที่เด็กรู้จัก  เป็นการนับอย่างมีความหมาย  เช่น  การนับตามลำดับ  ตั้งแต่  1-10  หรือมากกว่านั้น

2. ตัวเลข  เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน  ให้เด็กเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบไปด้วย  เช่น มากกว่า  น้อยกว่า

3. การจับคู่  เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักสังเกตลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้ากัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน

4. การจัดประเภท  เป็การฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ ของสิ่งของว่าแตกต่างกัน หรือเหมือนกัน ในบางเรื่องและสามารถจัดประเภทต่างๆได้

5. การเปรียบเทียบ  เด็กจะต้องการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่งของสองสิ่งหรือมากกว่า  รู้จกใช้คำศัพท์  เช่น  ยาวกว่า  สั้นกว่า หนักกว่า  เบากว่า

6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ  เช่น จัดบล็อก 5 แท่ง  ที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั้นไปยาว

7. รูปทรงและเนื้อที่ ครูต้องจัดประสบการณืให้เด็กต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม  สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยมจัตุรัส                              

                                               สรุปวีดีโอ โทรทัศน์ครูเรื่อง

                                                     เรื่อง  สื่อการเรียนรู้-ลูกเต๋า


  เรื่อง  สื่อการเรียนรู้-ลูกเต๋า



จากที่ดิฉันได้ดูวีดีโอนะคะ  จะใช้สอนเด็กระดับชั้นอนุบาล2-ประถมฯ1 เพื่อเรียนด้านต่างๆ เช่น การ
บวก-ลบแบบง่ายๆ จำนวนคู่-คี่ การผสมคำ และยังสามารถปรับเนื้อหาเพื่อสอนด้านอื่นๆ­ได้อีกมากมาย ซึ่งในการสอนของครูจะมีลูกเต๋าเป็นสื่อในการเรียน  และในลูกเต๋าก็มีจุด แล้วให้น้องๆแข่งกัน นับว่าตัวเองจะได้เลขอะไร และถามน้องๆ ว่าได้เลขอะไร เป็นจำนวนคู่ หรือ คี่   แล้วนำไปเขียนบนกระดาน ซึ่งเป็นการฝึกนับจำนวนำไปในตัวและทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาแล้ว และตอนสุดท้ายครูและนักเรียนก็ร่วมกันสรุปว่ากลุ่มไหนชนะตามกติการที่ได้ตกลงกันไว้
                                      


                                                           สรุปงานวิจัย

เรื่อง การเตรียมคววามพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ โดยใช้ชุดนิทานคณิตศาสตร์
             ผู้ที่ทำวิจัย อุไรวรรณ  กิมเฮง

                           ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

การจิวัยเรื่อง   การเตรียมคววามพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ โดยใช้ชุดนิทานคณิตศาสตร์ มีการสรุปผล  อภิปรายผล แล้ข้อเสนอแนะดังนี้
                          ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ โดยใช้ชุดนิทานคณิตศาสตร์
2. เพื่อเปรียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ก่อนและหลังการใช้ชุดนิทนคณิตศาสตร์
สมมติฐานของการวิจัย
1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้หลังการสอนโดยใช้ชุดนิทานคณิตศาสตร์ มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี 
                      การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดกลุ่มจำนวนประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติในการใช้วิเคราะห์ข้อมูล 
                    ซึ่งศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
pdhttp://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Spe_Ed/Uraiwan_K.pdf


               สรุปบทความ เลี้ยงลูกอย่างไรให้คิดเป็น
ผู้เขียนบทความ รองศาสตร์จารย์ ดร. นภเนตร ธรรมบวร

เมื่อพูดถึง “เด็กที่คิดเป็น”ดิฉันนึกไปถึงเด็กที่คิดได้อย่างลึกซึ้ง กว้างไกล สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ต่างๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้รู้และเข้าใจความต้องการของตนเอง เอื้ออาทรต่อความรู้สึกของผู้อื่น ขณะเดียวกันก็สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิต และการทำงานได้ สามารถปรับตัวเองอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การที่เด็กจะพัฒนา และเติบโตเป็นบุคคลที่คิดเป็นได้นั้นส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู ของคุณพ่อคุณแม่โดยมีหลักการสำคัญๆ ดังนี้

- เปิดโอกาสให้ลูกคิด และตัดสินใจด้วยตนเองบ้าง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคิดหรือทำสิ่งต่างๆ ให้ลูกไปเสียทุกอย่าง แต่ควรส่งเสริมให้ลูกได้คิดเพื่อตัวเองด้วย เมื่อคุณครูมอบหมายงานที่ให้ลูกทำ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้ใช้ความสามารถ และจินตนาการของตนเองในการทำงานดังกล่าว ไม่ควรช่วยคิดหรือทำแทนลูก


- เปิดโอกาสให้ลูกได้เผชิญกับปัญหาหรือความยากลำบากในชีวิตบ้าง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปิดกั้นปัญหา หรือความยากลำบากที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตลูก กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือเปิดโอกาสให้ลูกได้เผชิญกับปัญหา และเรียนรู้วิธีการจัดการกับปัญหาด้วยตัวของลูกเอง โดยที่คุณพ่อคุณแม่คอยเฝ้าดูและให้คำแนะนำ ปรึกษาอยู่ห่างๆ

 - ส่งเสริมให้ลูกมีความรับผิดชอบ ในปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่จำนวนมาก ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ลูกที่เรียนรับผิดชอบสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น ถ้าคุณครูมอบหมายงานให้ลูกทำเป็นการบ้าน คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ มักจะขอร้องให้คุณครูช่วยบอกคุณพ่อ หรือคุณแม่เป็นรายบุคคลอีกครั้งหนึ่ง

 - ฝึกให้ลูกได้ช่วยงานบ้าน หรืองานในกิจวัตรประจำวันบ้าง เช่น ถูบ้าน ล้างจาน รดน้ำต้นไม้ ทั้งนี้เพื่อให้ลูกมีโอกาสทำสิ่งต่างๆ เพื่อผู้อื่นบ้างฝึกการลงมือปฎิบัติจริง เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตนเอง และได้บทเรียนจากการทำงานรวมตลอดถึงเปิดโอกาสให้ลูกได้อยู่กับตนเอง ทั้งนี้เพื่อเรียนรู้และชื่นชมความงามของธรรมชาติรอบตัว

- ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของลูก โดยเปิดโอกาสให้ลูกซักถามหรือแสดงความคิดเห็นขณะเดียวกันก็อาจชวนให้ลูกสังเกตุความเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ รอบตัว
ประเมินตนเอง
 วันนี้มาเรียนแต่เช้าเลยค่ะ  และจดตามที่ครูสอนได้ถูกต้อง

ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนกันมากค่ะ ดูจากการตอบคำถามของเพื่อนๆ เก่งกันมากค่ะ

ประเมินอาจารย์
วันนี้ครูมีเทคนิคการสอนที่กระชับและเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ  จากเรื่องยากสสามารถทำให้เป็นเรื่องง่ายได้ค่ะ

  การนำไปใช้  เมื่อรู้เทคนิคการสอนและเข้าใจหลักสูตรแล้ว ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง  รู้จักการทำสื่อการสอนที่นำไปใช้ได้จริงๆ และถูกต้องเหมาะสมกับเด็กฐมวัย

 สิ่งที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติม  
-ให้หาวีดีโอโทรทัศน์ครูแล้วสรุป
-ให้หางานวิจัยแล้วสรุปเป็นความคิดตนเอง

หมายเหตุ วันนี้อาจารย์เทคนิคการสอน ผ่านการสอนค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


บันทึกการเรียน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครูผู้สอน คุณครูจินตนา  สุขสำราญ

เวลาเรียน 08:30-12:20

เวลาที่เข้าเรียน  08:10


ความรู้ที่ได้วันนี้ค่ะ

วันนี้อาจารย์พูดเกี่ยวกับ ตัวเลขที่เกี่ยวกับตัวอาจารย์  คือ  350  158  60  50  4915481

350= บ้านเลขที่     158=ส่วนสูง      60=น้ำหนัก     50= อายุ     4915481=เลขท้ายเบอร์โทรศัพท์


                 ความหมายของคณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์  หมายถึง  วิชาการวว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  การนับ  การ

คำนวณ  การประมาณ  มีความสัมพัธ์กับชีวิตประจำวันมนุษย์
ตั้งใจทำที่สุดค่ะ

ตั้งใจมากๆ เลย

จริงใจกันทุกคน


เสร็จแล้วค่ะ

                ความสำคัญของคณิตศาสตร์

เป็นพื้นฐานที่ช่วยให้เด็กรู้จักแก้ปัญหา  มีความสามารถในการคำนวณและอื่นๆ ทักษะพื้นฐานทาง

คณิตศาสตร์เบื้องต้น  ได้แก่ การรู้จักสังเกตเปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่ ช่วยขยายประสบการณ์เกี่ยว

กับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องเป็นลำดับจากง่ายไปยาก

          แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐาน

1. ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตร
2. ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ 
3. จัดหาสื่อการเรียนที่เด็กสามารถจับต้องได้
4. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับประสบการณ์
5. เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
6. ฝึกให้เด็กได้คิดแก้ปัญหา
7. จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่าง
8. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและบ้าน
9. จัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนคณิตศาสตร์ 


 ประเมินตนเอง  
วันนี้มาเรียนแต่เช้าเลยค่ะ  แต่งตัวสะอาดเรียบร้อย เก็บผมเรียบร้อยดีค่ะ

ประเมินเพื่อน 
วันนี้เพื่อนๆ ดูสดชื่นกันทุกคนเลยค่ะ  มาเรียนตรงเวลา  แต่งตัวเรียบร้อยด้วยค่ะ

ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  แต่งตัวให้เกียรตินักศึกษา  
  

การนำไปใช้   เมื่อเราเข้าใจความหมายของคณิตศาสตร์ ความสำคัญ  และแนวทางการส่งเสริมทักษะพื้นฐาน เราก็เอาความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

สิ่งที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติม  หลักสูตร ปี 2546  อะไรบ้าง กรอบเกี่ยวคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง


 หมายเหตุ  วันนี้อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1



บันทึกการเรียน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา  สุขสำราญ
เวลาเรียน 08:30-12:20
                                                             เวลาที่เข้าห้องเรียน  08:05
     ความรู้ที่ได้ในวันนี้ค่ะ

วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนการสอน  อาจารย์ที่ทำบล็อกใหม่โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้
1.  พิมพ์คำว่า   Blogger
2.  แล้วพิมพ์ E-mail และ  password
3.  แล้วคลิกคำว่า  บล็อกใหม่
4.  จะขึ้นว่า หัวข้อ  ให้เราพิมพ์ เป็นชื่อวิชา  ส่วนที่อยู่ให้เราพิมพ์อะไรก็ได้ถ้าระบบขึ้นว่าสามารถใช้
งานได้
5.แล้วให้เราเลือกแบบตามที่เราต้องการได้เลย

ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายแนวการสอน(Course  Syllabus) ซึ่งมีรายละเอียด  ดังนี้ค่ะ

คำอธิบายรายวิชา

ความหมาย  ความสำคัญ  แนวคิด  ทฤษฎี  และหลักการทางคณิตศาสตร์  เด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้
คณิตศาสตร์  แนวคิดและทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา  การประยุกต์ใช้  แนวคิดและทฤษฎีในการ
จัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  รูปแบบจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
ปฐมวัย  กรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  การ
ออกแบบและวางแผนกิจกรรมบูรณาการคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  การผลิตสื่อคณิตศาสตร์
สำหรับเด็กปฐมวัย  การประเมินผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์  บทบาทของครูและผู้ปกครองในการ
ส่งเสริม  การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์

ผลลัพธ์การเรียนรู้

1.  ด้านคุณธรรม  จริยธรรม
1.1  ซื่อสัตว์  สุจริต  ในการทำงาน
1.2  ตรงต่อเวลา  และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
1.3  แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

2.  ด้านความรู้
2.1  อธิบายหลักการ  ความสำคัญ  แนวคิด  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางคณิตศาสตร์
2.2  วิเคราะห์และเลือกจิตวิทยาการเรียนรู้ที่สนับสนุนจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
ปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
2.3  อธิบายสาระการเรียนรู้และทักษาทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
ปฐมวัยได้

3.  ด้านทักษะทางภาษา
3.1  คิดและวางแผนอย่างเป็นระบบ
3.2  ประยุกต์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและวางแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับ
เด็กปฐมวัยได้อย่างสร้างสรรค์
3.3  สรุปองค์ความรู้  จากปัญหาและความต้องการเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง

4.  ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความระบผิดชอบ
4.1  ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร  และนำเสนอได้ถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4.2  ให้ความร่วมมือ  ช่วยเหลือ  และแก้ไขเมื่อพบปัญหา
4.3  แสดงบทบาทผู้นำ  และผู้ร่วมทีมทำงานได้อย่างเหมาะสม

5.  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1  ใช้เทคโนโลยีการเชื่อมโยงเครือข่ายแหล่งเรียนรู้  เพื่อศึกษาค้นคว้า  สนับสนุนการเรียนจัด
ประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ตลอดเวลาไม่จำกัดสถานที่
5.2  เลือกใช้ท่องทางในการสื่อสารและนำเสนอได้อย่างเหมาะสมกับโอกาสและเวลาทำให้เกิด
ประสิทธิภาพทั้งด้านการพูดการเขียน

6.  ด้านการจัดการเรียนรู้
6.1  วางแผน  ออกแบบปฏิบัติการสอน  วัดและประผลผลผู้เรียนตามมาตราฐานคณิตศาสตร์
6.2  วิเคราะห์กรณีตัวอย่าง  สร้างแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์  ทดลองจัดประสบการณ์
คณิตศาสตร์  จัดแหล่งเรียนรู้

ประเมินตนเอง
วันนี้หนูเรียนเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ  เพราะครูมีเทคนิคการสอนที่ดี

 ประเมินเพื่อน
วันนี้ดูเพื่อนๆ ตั้งใจทำงานกันอย่างเต็มที่ค่ะ แต่งตัวเรียยบร้อยทุกคน

ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์บอกเทคนิคต่างๆ มากมายในการสอนเด็ก  แต่งตัวสุภาพเรียบร้อยดีค่ะ

การนำไปประยุกต์ใช้  เมื่อดิฉันทราบวิธีการสร้างบล็อกใหม่  ดิฉันก็นำความรู้ที่ได้ไปแนะนำเพื่อนๆ
ที่ยังไม่เข้าใจได้ ส่วนCourse  Syllabus เมื่อทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนในรายวิชานี้แล้ว ก็จะตั้ง
เป้าหมายในการเรียนให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นี้แล้ว

หมายเหตุ  วันนี้อาจารย์ปล่อยก่อนเวลา  40 นาที ค่ะ