วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้้งที่ 3

บันทึกการเรียน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครูผู้สอน คุณครูจินตนา  สุขสำราญ

เวลาเรียน 08:30-12:20

เวลาที่เข้าเรียน  08:01
                กิจกรรมที่ทำวันนี้

  • สมุดนิทานเล่มเล็ก
  • ร้องเพลง
  • นักศึกษามาถึงมหาวิทยาลัยตอนไหน
  • วาดรูป  1-9
  • ครูสอนขอบข่ายหลักสูตรทางคณิตศาสตร์
  • แต่งเพลง 
  • การแจกกระดาษแบบมีส่วนร่วม
  ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

                                                   สมุดนิทานเล่มเล็ก

                       

                                                 เพลง สวัสดีคุณครู

                            สวัสดีคุณครูที่รัก                        หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
                           ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ                หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย

                                                เพลง สวัสดียามเช้า

                                ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า           อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
                                กินอาหารของดีมีทั่ว                หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
                                สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ                ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
                                หลั่นล้า  หลั่นลา  หลั่นหล่า       หลั่นหล่า  หลั่น  ลันลา
                                                         หลั่นลา  หลั่นล้า

                                           เพลงที่อาจารย์ให้แต่งในห้องเรียนค่

 เพลง นับเลขกันเถอะ
มา มา พวกเรา         เรามานับเลขกันเถอะ
นับ 1 นับ 2 นับ 3         แล้วนับตามมา 4 5 6 7 
รอก่อน  รอก่อน 8 9 10    พร้อมกันแล้วนับไปด้วยกัน

                                               
                                     นักศึกษามาถึงมหาวิทยาลัยตอนไหนและวาดรูป  1-9



                              ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

1.การนับ  เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับตัวเลขอันแรกที่เด็กรู้จัก  เป็นการนับอย่างมีความหมาย  เช่น  การนับตามลำดับ  ตั้งแต่  1-10  หรือมากกว่านั้น

2. ตัวเลข  เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน  ให้เด็กเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบไปด้วย  เช่น มากกว่า  น้อยกว่า

3. การจับคู่  เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักสังเกตลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้ากัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน

4. การจัดประเภท  เป็การฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ ของสิ่งของว่าแตกต่างกัน หรือเหมือนกัน ในบางเรื่องและสามารถจัดประเภทต่างๆได้

5. การเปรียบเทียบ  เด็กจะต้องการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่งของสองสิ่งหรือมากกว่า  รู้จกใช้คำศัพท์  เช่น  ยาวกว่า  สั้นกว่า หนักกว่า  เบากว่า

6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ  เช่น จัดบล็อก 5 แท่ง  ที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั้นไปยาว

7. รูปทรงและเนื้อที่ ครูต้องจัดประสบการณืให้เด็กต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม  สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยมจัตุรัส                              

                                               สรุปวีดีโอ โทรทัศน์ครูเรื่อง

                                                     เรื่อง  สื่อการเรียนรู้-ลูกเต๋า


  เรื่อง  สื่อการเรียนรู้-ลูกเต๋า



จากที่ดิฉันได้ดูวีดีโอนะคะ  จะใช้สอนเด็กระดับชั้นอนุบาล2-ประถมฯ1 เพื่อเรียนด้านต่างๆ เช่น การ
บวก-ลบแบบง่ายๆ จำนวนคู่-คี่ การผสมคำ และยังสามารถปรับเนื้อหาเพื่อสอนด้านอื่นๆ­ได้อีกมากมาย ซึ่งในการสอนของครูจะมีลูกเต๋าเป็นสื่อในการเรียน  และในลูกเต๋าก็มีจุด แล้วให้น้องๆแข่งกัน นับว่าตัวเองจะได้เลขอะไร และถามน้องๆ ว่าได้เลขอะไร เป็นจำนวนคู่ หรือ คี่   แล้วนำไปเขียนบนกระดาน ซึ่งเป็นการฝึกนับจำนวนำไปในตัวและทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาแล้ว และตอนสุดท้ายครูและนักเรียนก็ร่วมกันสรุปว่ากลุ่มไหนชนะตามกติการที่ได้ตกลงกันไว้
                                      


                                                           สรุปงานวิจัย

เรื่อง การเตรียมคววามพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ โดยใช้ชุดนิทานคณิตศาสตร์
             ผู้ที่ทำวิจัย อุไรวรรณ  กิมเฮง

                           ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

การจิวัยเรื่อง   การเตรียมคววามพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ โดยใช้ชุดนิทานคณิตศาสตร์ มีการสรุปผล  อภิปรายผล แล้ข้อเสนอแนะดังนี้
                          ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ โดยใช้ชุดนิทานคณิตศาสตร์
2. เพื่อเปรียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ก่อนและหลังการใช้ชุดนิทนคณิตศาสตร์
สมมติฐานของการวิจัย
1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้หลังการสอนโดยใช้ชุดนิทานคณิตศาสตร์ มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี 
                      การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดกลุ่มจำนวนประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติในการใช้วิเคราะห์ข้อมูล 
                    ซึ่งศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
pdhttp://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Spe_Ed/Uraiwan_K.pdf


               สรุปบทความ เลี้ยงลูกอย่างไรให้คิดเป็น
ผู้เขียนบทความ รองศาสตร์จารย์ ดร. นภเนตร ธรรมบวร

เมื่อพูดถึง “เด็กที่คิดเป็น”ดิฉันนึกไปถึงเด็กที่คิดได้อย่างลึกซึ้ง กว้างไกล สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ต่างๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้รู้และเข้าใจความต้องการของตนเอง เอื้ออาทรต่อความรู้สึกของผู้อื่น ขณะเดียวกันก็สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิต และการทำงานได้ สามารถปรับตัวเองอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การที่เด็กจะพัฒนา และเติบโตเป็นบุคคลที่คิดเป็นได้นั้นส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู ของคุณพ่อคุณแม่โดยมีหลักการสำคัญๆ ดังนี้

- เปิดโอกาสให้ลูกคิด และตัดสินใจด้วยตนเองบ้าง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคิดหรือทำสิ่งต่างๆ ให้ลูกไปเสียทุกอย่าง แต่ควรส่งเสริมให้ลูกได้คิดเพื่อตัวเองด้วย เมื่อคุณครูมอบหมายงานที่ให้ลูกทำ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้ใช้ความสามารถ และจินตนาการของตนเองในการทำงานดังกล่าว ไม่ควรช่วยคิดหรือทำแทนลูก


- เปิดโอกาสให้ลูกได้เผชิญกับปัญหาหรือความยากลำบากในชีวิตบ้าง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปิดกั้นปัญหา หรือความยากลำบากที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตลูก กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือเปิดโอกาสให้ลูกได้เผชิญกับปัญหา และเรียนรู้วิธีการจัดการกับปัญหาด้วยตัวของลูกเอง โดยที่คุณพ่อคุณแม่คอยเฝ้าดูและให้คำแนะนำ ปรึกษาอยู่ห่างๆ

 - ส่งเสริมให้ลูกมีความรับผิดชอบ ในปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่จำนวนมาก ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ลูกที่เรียนรับผิดชอบสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น ถ้าคุณครูมอบหมายงานให้ลูกทำเป็นการบ้าน คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ มักจะขอร้องให้คุณครูช่วยบอกคุณพ่อ หรือคุณแม่เป็นรายบุคคลอีกครั้งหนึ่ง

 - ฝึกให้ลูกได้ช่วยงานบ้าน หรืองานในกิจวัตรประจำวันบ้าง เช่น ถูบ้าน ล้างจาน รดน้ำต้นไม้ ทั้งนี้เพื่อให้ลูกมีโอกาสทำสิ่งต่างๆ เพื่อผู้อื่นบ้างฝึกการลงมือปฎิบัติจริง เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตนเอง และได้บทเรียนจากการทำงานรวมตลอดถึงเปิดโอกาสให้ลูกได้อยู่กับตนเอง ทั้งนี้เพื่อเรียนรู้และชื่นชมความงามของธรรมชาติรอบตัว

- ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของลูก โดยเปิดโอกาสให้ลูกซักถามหรือแสดงความคิดเห็นขณะเดียวกันก็อาจชวนให้ลูกสังเกตุความเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ รอบตัว
ประเมินตนเอง
 วันนี้มาเรียนแต่เช้าเลยค่ะ  และจดตามที่ครูสอนได้ถูกต้อง

ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนกันมากค่ะ ดูจากการตอบคำถามของเพื่อนๆ เก่งกันมากค่ะ

ประเมินอาจารย์
วันนี้ครูมีเทคนิคการสอนที่กระชับและเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ  จากเรื่องยากสสามารถทำให้เป็นเรื่องง่ายได้ค่ะ

  การนำไปใช้  เมื่อรู้เทคนิคการสอนและเข้าใจหลักสูตรแล้ว ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง  รู้จักการทำสื่อการสอนที่นำไปใช้ได้จริงๆ และถูกต้องเหมาะสมกับเด็กฐมวัย

 สิ่งที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติม  
-ให้หาวีดีโอโทรทัศน์ครูแล้วสรุป
-ให้หางานวิจัยแล้วสรุปเป็นความคิดตนเอง

หมายเหตุ วันนี้อาจารย์เทคนิคการสอน ผ่านการสอนค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น